2541-2544 ในระหว่าง พ.ศ. 2538-2542 สมัยที่ รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน เป็นอธิการบดี มีแนวคิดจะขยายการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิตสูู่ระบบทางไกล โดยใช้ VDO Conference และแนวคิดจะขยายศูนย์การศึกษา ไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อกระจายการศึกษาสู่ท้องถิ่น เนื่องจากสถานที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตคับแคบมาก ในช่วงเวลานมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีศูนย์การศึกษาอยู่แล้ว จำนวน 7 ศูนย์ คือ ศูนย์ซุปเปอร์เซฟสำโรง ศูนย์อิมพิเรียบบางนา ศูนย์พงษ์สวัสดิ์ ศูนย์พณิชยการสุโขทัย ศูนย์เซ็นทรัลปิ่นเกล้า และศูนย์องค์การเภสัชกรรม จนกระทั่งประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2541 คณะของอธิการบดี ประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบริหาร (ผศ.ชัยศิลป์ ทหารวานิช)   ดร.ผดุง พรมมูล ผศ.พิทักษ์ จันทร์เจริญ และอาจารย์ประเสริฐ ด้วงเจริญ ฯลฯ ได้เดินทางไปสำรวจสถานที่    ณ จังหวัดปราจีนบุรี และนครนายก ในที่สุดจึงตัดสินใจเลือกเปิดศูนย์การศึกษานอกสถาบัน อีก 2 แห่ง โดยที่จังหวัดปราจีนบุรีเลือกโรงเรียนพณิชยการปราจีนบุรี เป็นศูนย์ฯ ที่นครนายกเลือกโรงเรียนเทคโนโลยีวีรพัฒน์ เป็นศูนย์ฯ จากนั้นจึงได้เตรียมการและประสานงานจนได้ตกลงในหลักการเป็นที่เรียบร้อย จึงได้วางแผนรับสมัครนักศึกษา ตั้งแต่เดือน มีนาคม - มิถุนายน 2541 โดยนักศึกษารุ่นแรกเปิดรับสมัครวิชาเอก การบริหารธุรกิจ และการจัดการทั่วไป       มีนักศึกษาสมัครเรียนในปีแรกมีจำนวน 368 คน ในปีแรกมี รศ.อุดม พรประเสริฐ เป็นผู้ประสานงานฝ่ายบริหาร ผศ.ประจวบ เอี่ยมผู้ข่วย เป็นผู้ประสานงานฝ่ายวิชากิจการนักศึกษา อาจารย์โรจนา ศูขพันธ์ เป็นผู้ประสานงานฝ่ายวิชาการ อาจารย์กนกพร วรมานะกุล เป็นผู้ประสานงานโรงเรียนพณิชยการปราจีนบุรี อาจารย์อุไรวรรณ มังคลาเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงาน นางสาวสมพิศ ด่านเพลิง เป็นเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ นายประนอม ประกอบผลเป็นนักการประจำศูนย์ต่อมาสถาบันได้รับอาจารย์ประสานงานประจำศูนย์อีก 1 คน คือ นางสาวธมลวรรณ งามวงค์ ศูนย์ปราจีนบุรี เริ่มเปิดสอน วันแรก เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2541 มีผู้บริหารศูนย์ปราจีนบุรี เรียงลำดับดังนี้ ภาคเรียนที่ 2/2542 - ภาคเรียนที่ 1/2543 มี รศ.สุขุม เฉลยทรัพย์ เป็นหัวหน้าศูนย์ภาคเรียนที่ 2/2543 จนถึงปัจจุบัน มี รศ.อุดม พรประเสริฐ เป็นหน้าศูนย์

   
   
 
รักการศึกษา   รักษาเกียรติภูมิ
 
   
   
 

1.  นำความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาการเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน การจัดตั้งสถาน ประกอบการทางธุรกิจ และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.   พัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพทางวิชาการและมีบุคลิกภาพตรงตามความต้องการของสังคมโดยอาศัย วัฒนธรรมสวนดุสิตเป็นฐาน

   
   
 

1.   ด้านการบริการจัดการ
          -  การพัฒนาโครงสร้างการบริการองค์กร
          -  การพัฒนาบุคลากรของศูนย์

 2.   ด้านการเรียนการสอนและการบริการการศึกษา
          -  จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและการอบรมหลักสุตรระยะสั้น โดยเน้นการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพด้านวิชาการ

3.   ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอน
          -  การจัดกิจกรรมของนักศึกษา
          -  การพัฒนาส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
          -  การส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม
          -  การประกอบธุรกิจวิชาการ

   
   
 
1.   กลยุทธ์การพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการองค์กร
2.   กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรของศูนย์ปราจีนบุรี
3.   กลยุทธ์การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์ข้อมูล
4.   กลยุทธ์การพัฒนานักศึกษาโดยเน้นกิจกรรม
5.   กลยุทธ์การจัดกิจกรรมธุรกิจเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง
6.   กลยุทธ์การส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
7.   กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาค้นคว้าวิจัย
 
   
   
 
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต   ศูนย์ปราจีนบุรี เป็นศูนย์ที่มีการบริหารจัดการด้วยตนเองแบบเบ็ดเสร็จสามารถ เลี้ยงตนเองได้อย่างสมบูรณ์
 
   
   

                 
 
English Form